เมนู

กล่าวความโกรธว่า สันธานะ. คำนั้นไม่ควรถือเอา. ก็ ธิติ นั้น ท่าน
เรียกว่า ทำเหตุให้บุคคลอื่นข้องอยู่แล. บทว่า ตํ นิตฺตณฺหํ มุนึ จรนฺตํ
ความว่า ซึ่งพระอริยบุคคลนั้น ชื่อว่าผู้ปราศจากตัณหา เพราะไม่มีตัณหา
แม้โดยประการทั้งปวง ชื่อว่ามุนี เพราะรู้โลกทั้งสอง และรู้ประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่น ชื่อว่าผู้เที่ยวไปด้วยอิริยาบถ ด้วยการยังสมาบัติ
ต่าง ๆ ให้เที่ยวไป และด้วยการยังญาณอันไม่ทั่วไปแก่ญาณอื่นให้เที่ยว
ไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง โดยส่วนเดียวนั่นเอง. บทว่า
นาวชานาติ สเทวโกปิ โลโก ความว่า สัตวโลก ที่เกิดมาด้วยปัญญาของ
ตน พร้อมทั้งเทวโลก พร้อมทั้งพรหม แม้ในกาลไหน ๆ ก็ไม่รู้ ไม่ได้
เสวย โดยที่แท้กระทำให้หนักแน่น ยินดีในการบูชาสักการะโดยเคารพว่า
ผู้นี้เท่านั้น เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสูงสุด ประเสริฐยังในโลก ดังนี้แล.
จบอรรถกถาปปัญจขยสูตรที่ 7

8. มหากัจจานสูตร



ว่าด้วยพระมหาหัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง



[154] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน
พระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติตั้งมั่นดีแล้วเฉพาะ
หน้าในภายใน ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ทรงเห็นท่านพระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติตั้งมั่น
ดีแล้วเฉพาะหน้าในภายใน ในที่ไม่ไกล.